วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

ท่องเที่ยววังน้ำเขี่ยว อ.ปาย


แหล่งเสบียง
ร้านชาววัง 637 ต. วังน้ำเขียว- สุกี้ ,ผัดเห็ดหอม
ร้านสุกี้คุณต๋อย 19 ต.วังน้ำเขียว 044-228232-3 สุกี้ และ อาหารปลา
วิลลเลจฟาร์ม 103 ม.7 ต.ไทยสามัคคี 044-228407-9 เสต็ก
ปลาเผา 465 ม.10 ต.วังน้ำเขียว 044-228039 ปลาเผา ,ยำตะไคร้
ครัวประดู่ 13 ม.3 ต.ไทยสามัคคี 044-228369 เสต็ก
ครัวครูนิกร 12 ม.10 ต.วังน้ำเขียว 044-228431 ผัดเผ็ดหมูป่า , อาหารป่า
สเต็กต้นน้ำ 147 ม.11 ต.อุดมทรัพย์ 01-9552838 เสต็ก
ครัวอิ่มสุข 7 ม.15 ต.วังน้ำเขียว 01-9413896 เสต็ก,ไส้กรอกรมควันอ้อย,จิ้มจุ่ม
ไร่กฤษวรรณ นายสุวุฒิชัย ถิระโคตร 210 ม.1 ต.วังน้ำเขียว 044-228467 ยำผักกูด,เสต็ก,เมี่ยงตะไคร้
ครัวน้องนัท 288/1 ม.1 ต.วังน้ำเขียว 044-228208 เกี๊ยวเสวย,ปลาแรดทอดกระเทียม
แอบแซบ 77 ม.7 ต.อุดมทรัพย์ 07-2526394 ก๋วยเตี๋ยว , สุกี้
ลาบอุดมทรัพย์ 249 ม.1 ต.อุดมทรัพย์ 09-9492892 จิ้มจุ่ม , คอหมูย่าง
ครัวสวนป่า 231 ม.9 ต.อุดมทรัพย์ 09-9474892 ผัดเผ็ดนก , แกงป่านก
บงกอเดียว ม.9 ต.อุดมทรัพย์ 09-8485102 ก๋วยเตี๋ยวปลา
ต้นตอ 7 ม.2 ต.วังหมี ผัดเผ็ดหมูป่า
ครัวริมเขื่อน 91 ม.10 ต.วังหมี ปลาริมเขื่อนทอด , ยำตะไคร้
เข้าเยี่ยมชมฟาร์มเห็ดหอมบ้านบุไทร ชมเทคนิคด้านการเกษตร ที่ ผลิตโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน และเจาะลึกกรรมวิธีแปรรูป เห็ดหอมให้เป็นสินค้าสารพัด พร้อมเลือกซื้อเห็ดสดและเห็ด แปรรูป  ม.4 บ้านบุไทร ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา 30370 โทร. 09-285-3044



สัมผัสบรรยากาศของสวนเกษตรครบวงจร เน้นเรื่องการพึ่งพา ตัวเองตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมศึกษาเรื่อง สมุนไพรนานาชนิดเพื่อสุขภาพที่ดีของท่าน... 337 ม.1 ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา 30370 โทร. 01-760-1311,06-866-6098



วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

เห็ดนางฟ้ามีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดนางรม เห็ดทั้งสองชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ (family) เดียวกัน ชื่อ "เห็ดนางฟ้า" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในเมืองไทย คนไทยบางคนเรียกว่าเห็ดแขก เนื่องจากมีผู้พบเห็นเห็ดนี้ครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย พบขึ้นตามธรรมชาติบนตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุ ในแถบเมืองแจมมู (Jammu) บริเวณเชิงเขาหิมาลัย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pleurotus sajor-caju (Fr.) Singer

เห็ดนางฟ้ามีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดนางรม เห็ดทั้งสองชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ (family) เดียวกัน ชื่อ "เห็ดนางฟ้า" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในเมืองไทย คนไทยบางคนเรียกว่าเห็ดแขก เนื่องจากมีผู้พบเห็นเห็ดนี้ครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย พบขึ้นตามธรรมชาติบนตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุ ในแถบเมืองแจมมู (Jammu) บริเวณเชิงเขาหิมาลัย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pleurotus sajor-caju (Fr.) Singer
            เห็ดนางฟ้าถูกนำไปเลี้ยงในอาหารวุ้นเป็นครั้งแรกโดย Jandaik ในปี ค.ศ. 1947 ต่อมา Rangaswami และ Nadu แห่ง Agricultural University, Coimbattore ในอินเดียเป็นผู้นำเชื้อบริสุทธิ์ของเห็ดนางฟ้าเข้ามาฝากไว้ที่ American Type Culture Collection (ATCC) ในอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1975 ได้ทราบว่าประมาณปี ค.ศ. 1977 ทางกองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้นำเชื้อจาก ATCC เข้ามาประเทศไทยเพื่อทดลองเพาะดู ปรากฏว่าสามารถเจริญได้ดี


            อีกสายพันธุ์หนึ่ง เป็นเห็ดที่มีผู้นำเข้ามาจากประเทศภูฐาน มาเผยแพร่แก่นักเพาะเห็ดไทย ได้มีการเรียกชื่อเห็ดนี้ว่า เห็ดนางฟ้าภูฐาน มีหลายสายพันธุ์ซึ่งชอบอุณหภูมิที่แตกต่างกัน บางพันธุ์ออกได้ดีในฤดูร้อน บ้างพันธุ์ออกได้ดีในฤดูหนาว เป็นที่นิยมมาเพาะเป็นการค้ากันมาก
            ลักษณะของดอกเห็ดนางฟ้า มีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดเป๋าฮื้อ และดอกเห็ดนางรม เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อ ดอกเห็ดนางฟ้าสีจะอ่อนกว่า และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่า เห็นนางฟ้าสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นนานได้หลายวัน เช่นเดียวกับเห็ดเป๋าฮื้อ เนื่องจากเห็ดชนิดนี้ไม่มีการย่อตัวเหมือนกับเห็ดนางรม ด้านบนของดอกจะมีสีนวลๆ ถึงสีน้ำตาลอ่อน ในอินเดียดอกเห็ดมีขนาดตั้งแต่ 5 - 14 เซ็นติเมตร และจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 30 - 120 กรัม เห็ดนางฟ้ามีรสอร่อย เวลานำไปปรุงอาหารจะมีกลิ่นชวนรับประทาน เห็ดชนิดนี้สามารถนำไปตากแห้ง เก็บไว้เป็นอาหารได้ เมื่อจะนำเห็ดมาปรุงอาหาร ก็นำไปแช่น้ำเห็ดจะคืนรูปเดิมได้

ฟาร์เห็ด

ฟาร์มเห็ดเล็กๆ จากแรงกายแรงใจ พี่น้อยและลูกๆ
พี่น้อย : ฟาร์มเห็ดเล็กๆ ปลอดสารพิษ สดใหม่ ให้ผู้บริโภคทุกๆวัน
“เราทำอะไรก็ได้ที่ทำอยู่บ้านได้ทุกวัน ทุกคนในครอบครัวได้ทำด้วยกัน ให้ลูกๆได้มีส่วนร่วมในอาชีพด้วย” นี่เป็นความคิดของ “พี่น้อย” หรือ “คุณจันทิมา ฮวดบำรุง” เป็นที่มาของฟาร์มเห็ดเล็กๆที่เธอยึดเป็นอาชีพเลี้ยงดูลูกชายและลูกสาวทั้ง 2 คนในครอบครัว
แต่เดิมพี่น้อยทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอยู่กับครอบครัวและสามี จนกระทั่งเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปีพ.ศ. 2540 ส่งผลให้ธุรกิจของครอบครัวไม่มั่นคง พี่น้อยจึงเริ่มคิดมีอาชีพเสริมที่ทำเองที่บ้านได้ทุกๆวัน เธอเริ่มด้วยงานฝีมือที่ตนเองชอบ คือการถักโคเชท์และเย็บกระเป๋าโดยศึกษาค้นคว้าวิธีการต่างๆด้วยตนเองจากหนังสือและอินเตอร์เน็ต
 
ต่อมามาในปี 2550 ครอบครัวและชีวิตของพี่น้อยต้องพบกับการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และสำคัญ เมื่อสามีหรือคุณพ่อที่แสนดีของลูกๆต้องจากไปอย่างกะทันหันด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน  เมื่อเสาหลักของครอบครัวจากไปแล้วแม้ว่าทั้งพี่น้อยและลูกๆจะเสียใจมากมายเพียงใด  แต่ด้วยความรับผิดชอบของผู้เป็นแม่ที่ต้องเลี้ยงดูลูกอีกสองคน ทำให้พี่น้อยต้องเข้มแข็งลุกขึ้นสู้กับทุกปัญหา เพื่อเป็นทั้งเสาหลักให้ครอบครัวและแม่ที่ดีของลูกๆ ต่อไป